วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นวัตกรรมทางการศึกษา

บทคัดย่อ

ชื่องานวิจัย ศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบรายการลูกทุ่งครูไทย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่ง

ประเทศไทยจังหวัดภูเก็ต คลื่น F.M. 96.75 MHz
ชื่อผู้วิจัย นายยุติกร คำแก้ว
หน่วยงาน โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฎภูเก็ต
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2542

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบรายการลูกทุ่ง ครูไทยโดยจะทำการศึกษา ข้อมูลของผู้รับฟัง ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) พฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง 2) พฤติกรรมการรับฟังรายการเพลงลูกทุ่งทางวิทยุกระจายเสียง และ 3) ความสนใจ ความต้องการ เกี่ยวกับรูปแบบรายการเพลงลูกทุ่งทางวิทยุกระจายเสียง
กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้รับฟังรายการเพลงลูกทุ่ง ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบ FM ในจังหวัดภูเก็ต ที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 60 ปี จำนวน 418 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับผู้รับฟังรายการเพลงลูกทุ่ง แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1) สถานภาพส่วนตัว 2) พฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง 3) พฤติกรรมการรับฟังรายการเพลงลูกทุ่งทางวิทยุกระจาย และ 4) ความสนใจ ความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบรายการเพลงลูกทุ่งทางวิทยุกระจายเสียง หลังจากทำการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำคะแนนที่ได้มาคำนวณหาค่าเฉลี่ยและกำหนดช่วยคะแนนทางสถิติ เพื่อใช้ในการแปลผล และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติร้อยละ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Win V.8.0
ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงไปพร้อม ๆ กับการนอนหรือพักผ่อนอยู่กับบ้านหรือที่หอพัก ซึ่งจะรับฟังในเวลา 22.00 น. โดยใช้เวลาในการรับฟังประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง ของทุกวัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการรับฟังคือ เพื่อความบันเทิงและสาระความรู้ และมักจะรับฟังจากสถานีวิทยุองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยจังหวัดภูเก็ต (อสมท. คลื่น F.M. 101.50 MHz) เพราะรับฟังชัดเจนไม่มีสัญญาณรบกวน รายการที่ชอบฟังมากที่สุด คือรายการเพลงเพื่อชีวิต และส่วนใหญ่จะไม่ซื้อหรือไม่ใช้บริการจากโฆษณาในรายการวิทยุ เพราะคิดว่าฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น
2. กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะชอบฟังรายการเพลงลูกทุ่ง เพราะชอบฟังเพลงลูกทุ่งเป็นปกติอยู่แล้ว ซึ่งจะชอบฟังเพลงลูกทุ่งทั้งในสมัย เก่า กลาง และใหม่ รวมกัน โดยมีเอกชัย ศรีวิชัย และศิริพร อำไพพงษ์ เป็นนักร้องลูกทุ่งเพศชาย และเพศหญิงที่ส่วนใหญ่ชอบฟังมากที่สุด และรายการสมาร์ทเรดิโอเพลงใหม่ได้อันดับ (สอด.คลื่น F.M. 107.25 MHz) เป็นรายการเพลงลูกทุ่งที่ชอบฟังมากที่สุด เพราะรายการได้เปิดเพลงตามคำขอของผู้ฟัง สถานีวิทยุที่รับฟังรายการเพลงลูกทุ่งมากที่สุดคือ สถานีวิทยุเสียงสามยอด (FM 95.0 MHz) เพราะรับฟังได้ชัดเจนไม่มีสัญญาณอื่นรบกวน และขณะรับฟังส่วนใหญ่จะนอนหรือพักผ่อน อยู่ที่บ้านหรือหอพักโดยมีจุดประสงค์ในการรับฟังรายการเพลงลูกทุ่งคือ เพื่อความบันเทิงและสาระความรู้
3. กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ สนใจและต้องการรับฟังรายการเพลงลูกทุ่งที่มีรูปแบบดังนี้
3.1 ต้องการรับฟังผู้จัดรายการเพศชาย ที่ใช้ภาษากลางในการจัดรายการ มีลักษณะการพูดที่ตลก สนุก สนาน และควรพูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเพลงที่เปิด แต่ไม่ควรพูดแทรก หรือคร่อมเพลง
3.2 ต้องการให้รายการเปิดเพลงทั้งตามคำขอของผู้ฟัง และตามใจผู้จัดคละกันรวมทั้งต้องการรับฟังรายการเพลงลูกทุ่งในวันและเวลาใดก็ได้ แต่เวลาที่เหมาะสมคือเวลาในช่วงเย็นหรือหลังเลิกงาน
3.3 ต้องการให้รายการสอดแทรกข่าวสาร หรือเนื้อหาในรายการบ้าง ได้แก่ ข่าวท้องถิ่น ข่าวเหตุการณ์ปัจจุบันในประเทศและต่างประเทศ ข่าวเศรษฐกิจ รวมทั้งข่าวในวงการเพลงลูกทุ่ง ซึ่งควรนำเสนอให้กระชับ รัดกุม เข้าใจง่าย หรือเป็นลักษณะสปอตก็ได้ นอกจากนี้ รายการควรนำเสียงของผู้ที่อยู่ในวงการเพลงลูกทุ่งมาออกอากาศบ้าง (อาจจะเป็นแบบเทป หรือสดก็ได้)
3.4 ต้องการให้รายการมีการจัดอันดับเพลงยอดนิยมประจำสัปดาห์หรือประจำเดือน ต้องการให้มีการเล่นเกมแจกของรางวัล ต้องการให้มีการนำเสียงของผู้ฟังออกอากาศผ่านโทรศัพท์ (Phone In) บ้าง และต้องการให้รายการเปิดรับสมาชิก (Fan Club) แต่ไม่ต้องการให้นำจดหมายของผู้ฟังมาตอบในรายการ นอกจากนี้ยังต้องการให้โฆษณาในรายการมีลักษณะเป็นสปอต แต่ทั้งนี้ไม่ควรเปิดสปอตโฆษณามากเกินไป

เอกสารอ้างอิง
ยุติกร คำแก้ว.(2542).ศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบรายการลูกทุ่งครูไทย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดภูเก็ต คลื่น F.M.96.75 MHz.ภูเก็ต.
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1. ได้ทราบถึงวิธีการเขียนงานวิจัยและสามารถนำไปเป็นแนวทางในอนาคตได้
2. ได้ทราบถึงวิธีการค้นหางานวิจัย
3. สามารถนำความรู้ที่ได้จากการค้นหางานวิจัยไปใช้ได้
4. ได้ทราบถึงการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 2

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 2 (บทที่ 3-6)
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
ปัจจุบันเทคโนโลยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเพราะมีการแข่งขันกันสูง เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ ขององค์กรเช่น
1. ด้านการวางแผน เป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานขององค์กร
2 ด้านการตัดสินใจ เป็นการนำสารสนเทศไปใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อเลือกทางที่ดีที่สุด
3. ด้านการดำเนินงาน เป็นการนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงาน
นอกจากนี้ผู้บริหารขององค์กรนั้น ๆ จะต้องมีความรู้ความสามารถในการทำงานและกล้าที่จะตัดสินใจซึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพก็คือระบบสารสนเทศ

ระดับการบริหารงานในองค์กร
1. ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ประธานกรรมการ ผู้จัดการ กรรมการบริหาร ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและวางแผนระยะยาว กำหนดทิศทาง เป้าหมายกลยุทธ์ขององค์กร
2. ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ มีหน้าที่รับนโยบายและแผนระยะยาวที่ผู้บริหารระดับสูงได้วางไว้
3. ผู้บริหารระดับต้น ได้แก่ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าแผนก ทำหน้าที่ปฏิบัติตามแผนและนโยบาย ควบคุมดูแลและแก้ปัญหาการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ระดับของการตัดสินใจ
1. การตัดสินใจระดับสูง เป็นการตัดสินใจแบบไม่มีการวางแผนล่วงหน้ากับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
2. การตัดสินใจระดับกลาง เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารระดับสูง
3. การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติในแต่ละวัน

ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
1. ระบบประมวลผลรายการ(TPS) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS) เป็นระบบที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลขององค์กรเพื่อผลิตสารสนเทศตามความต้องการเพื่อใช้สนับสนุนการดำเนินงาน
3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน(OIS)เป็นระบบการจัดการสารสนเทศในสำนักงานโดยเกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูล การผลิตเอกสารภายในสำนักงานโดยนำเทคโนโลยีมาใช้
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS)เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร
5. ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง(ESS)เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง เน้นการสร้างสารสนเทศสำคัญเพื่อสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง

การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กร และเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทั้งในโครงสร้างการปฏิบัติงาน และการจัดการขององค์กรต่าง ๆ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาองค์กรสามารถทำได้หลายระดับและหลายรูปแบบ ทั้งการปรับปรุงกระบวนการทำงานและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กรแต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของปัจจัยภายในองค์กรหลายด้าน เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล ระบบเครือข่ายการสื่อสารและบุคลากรที่ทำงาน ดั้งนั้นผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้ความสนใจ และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเพื่อจะได้ทราบทิศทาง และประโยชน์ในการประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสมกับองค์กรและจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดเทคโนโลยสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
การเลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน คือ
1. ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2. มีการสร้างเสริมคุณภาพที่ดีขึ้น มีการติดต่อสื่อสารที่สะดวก
3. อุปกรณ์มีราคาถูกลงแต่มีความสามารเพิ่มขึ้น
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทที่สำคัญกับระบบธุรกิจเกิดเป็นสังคมโลกแบบไร้พรมแดน

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคมในแง่บวก

1. เทคโนโลยีช่วยให้การดำรงชีวิตของมนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น
2. ช่วยพัฒนาระบบการทำงานที่สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และประหยัดค่าใช้จ่าย
3. สามารถทำงานร่วมกันได้ในทุกที่ ทุกเวลา
4. นำเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่และด้านการแพทย์ให้ดีขึ้น
5. ช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคมในแง่ลบ
1. ทำให้เกิดความขัดแย้งทางแนวความคิดระหว่างแนวความคิดใหม่กับแนวความคิดเก่า
2. มีการก่ออาชญากรรมทางด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น
3. อัตราการจ้างงานลดลงเพราะมีการใช้เทคโนโลยีมาแทนแรงงานคน

เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน คือ
1. เพิ่มปริมาณการขาย
2. ลดต้นทุนการผลิต
3. ช่วยในการเพิ่มผลผลิต
4. ช่วยเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ
5. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเทคโนโลยสารสนเทศในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
1. การสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศเสียค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้เวลา
2. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง
3. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเสี่ยง

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อองค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศส่วนตัวบางอย่างที่ไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลได้ถูกละเมิดโดยเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในทางที่ผิดหรือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาควบคุมทำงานของเครื่องจักรแทนแรงงานคนทำให้เกิดปัญหาสังคม เช่น เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้น
ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลียนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ในสับดาห์ที่ 1(31พ.ค.52)

การเรียนวิชา การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
รหัสวิชา 1061601 ครั้งที่ 1 (31 พฤษภาคม 2552)
3.1 ความรู้ที่นักศึกษาได้รับจากการเรียนในครั้งนี้โดยสรุป
- ในด้านความรู้พื้นฐาน ทำให้ได้ทราบความหมายของข้อมูลได้ละเอียดมากขึ้นไม่ใช่เพียงแค่ตัวเลขหรือเนื้อหาทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ได้รู้ที่มาของสารสนเทศว่าต้องผ่านกระบวนการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และประมวลผลมาก่อนแล้วจึงสามารถนำไปใช้ ได้ทราบถึงการนำเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมาใช้ประโยชน์ในระบบสารสนเทศทำให้เกิดสารสนเทศที่ทันสมัย มีความสะดวกรวดเร็ว เพราะการเก็บข้อมูลไว้ในกระดาษแบบเก่าอาจทำให้การค้นหาล่าช้าและกว่าจะสรุปหรือประมวลผลได้ต้องใช้เวลา แต่ถ้าใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยทำให้สามารถหาข้อมูลและสรุปผลได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้นสามารถตัดสินใจในการทำงานหรือบริหารงานได้เร็วขึ้นโดยเฉพาะในระบบเศรษฐกิจ
- ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เราสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในระบบการศึกษาได้มากมายไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับทะเบียนนักเรียน นักศึกษา ระบบบัญชีต่าง ๆ รวมทั้งระบบการบริหารงานด้านต่าง ๆ ในสถาบันนั้น ๆ ส่วนในเรื่องการเรียนการสอนนั้นในปัจจุบัน ได้เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ เพราะฉนั้นความรู้ที่ผู้เรียนได้รับไม่ได้มีแต่ในห้องเรียนเท่านั้น ผู้เรียนสามารถค้นคว้าในสิ่งที่ต้องการศึกษาได้มากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยทำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดเป็นประโยชน์ ทันสมัย ทันต่อความต้องการของผู้เรียน
3.2 ประโยชน์ที่มีของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Internet) ต่อกระบวนการจัดการศึกษา
ในปัจจุบันได้นำระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในกระบวนการจัดการศึกษามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
การบันทึกข้อมูลของโรงเรียน ข้อมูลนักเรียนเพื่อส่งกรม ฯ ส่งเขตพื้นที่การศึกษาฯ ทำให้หน่วยงานเหล่านี้ได้รับข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังได้นำระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้การเรียนการสอนมากขึ้นทำให้นักเรียน นักศึกษา สามารถค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากในห้องเรียนได้มากขึ้น ทำให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายและเป็นปัจจุบัน รวมทั้งยังทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาในการหาหนังสือที่หายากทั้งหลายเพียงแค่เข้าไปในห้องสมุดเสมือนหรือห้องสมุดดิจิตอลก็ทำให้เรารู้ว่าหนังสือที่เราต้องการมีอยู่ที่ใดบ้างทำให้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ระบบอินเทอร์เน็ตยังสามารถทำให้คนที่อยู่ห่างไกลกันก็สามารถเรียนรู้ในเรื่องเดียวกันได้ ตัวอย่างเช่น ระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของ โรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรม-ราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ผลดี หรือการเรียนแบบออนไลน์ที่ผู้เรียน ผู้สอนอยู่กันคนละแห่งแต่สามารถโต้ตอบกันได้โดยผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนส์
3.3 เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเทอร์เน็ตเมื่อเทียบกับการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
การใช้งานโปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต
ข้อดี คือ ให้บริการที่มีความสะดวกสบายและรวดเร็ว เช่น บริการเวิลด์ไวด์เว็บ ที่มีการทำให้เกิดการเชื่อมโยงเอกสารที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากที่มีอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถเข้าไปสืบค้นได้ง่าย หรือโปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการรับ-ส่งข่าวสารได้ทั้งแบบตัวอักษร ภาพ และเสียง ทำให้การติดต่อสื่อสารในยุคปัจจุบันไม่มีขีดจำกัด
ข้อเสีย คือ ทำให้ได้รับอันตรายจากไวรัสต่างๆที่มากับบริการเวิลด์ไวด์เว็บของอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงกับคอมพิวเตอร์ได้
การใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ข้อดี
* ทำให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยในการติดตั้งโปรแกรมในการใช้งาน
* มีความเสี่ยงในการใช้งานในการบันทึกข้อมูลน้อยกว่าการใช้งานโปรแกรมประยุกต์บนอินเทอร์เน็ต
ข้อเสีย
* โปรแกรมมีความล้าสมัยทำให้ต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
* การทำงานอยู่ในขอบเขตที่จำกัดไม่สามารถสร้างเครือข่ายได้ให้ขยายในวงกว้างได้

ภาพประทับใจ



ความประทับใจ
ความประทับใจกับภาพนี้เพราะว่า เป็นปีแรกที่ข้าพเจ้าได้ฝึกซ้อมนักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด รุ่นอายุไม่เกิน ๑๖ ปี เพื่อเข้าแข่งขันกีฬานักเรียนเทศบาลและเมืองพัทยาประจำปี ๒๕๕๐ โดยเข้าแข่งขันรอบคัดเลือกระดับภาคกลางที่จังหวัดนครปฐม เพื่อคัดเลือกทีมที่ชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับ ๑ เข้าแข่งขันในระดับประเทศต่อไปโดยทีมที่ข้าพเจ้าฝึกซ้อมได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้เข้าแข่งขันในระดับประเทศ ณ จังหวัดระยอง เป็นครั้งแรกในรอบ ๖ ปีและเป็นกีฬาประเภทเดียวของเทศบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์ ที่ได้เข้าแข่งขันระดับประเทศ จากการเข้าแข่งขันในระดับประเทศครั้งนี้ผลปรากฎว่านักกีฬาได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้รับรางวัลจากอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายสมพร ไชยบางยาง ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจและประทับใจกับความสำเร็จในครั้งนี้เพราะตัวข้าพเจ้าเองไม่เคยเป็นนักกีฬาและไม่ได้จบเอกพลศึกษาซึ่งข้าพเจ้าเรียนจบเอกสังคมศึกษามา ทำให้ได้ข้อคิดที่ว่าการที่เราจะทำสิ่งใดก็ตามถ้าเรามีความตั้งใจและพยายามทำให้ดีที่สุดเราก็สามารถประสบผลสำเร็จได้เช่นเดียวกัน
จากความสำเร็จในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้รับการยอมรับจากผู้บริหารทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยยอมรับการทำงานของข้าพเจ้าด้วยเหตุผลที่ว่าข้าพเจ้าไม่ได้จบสาขาพลศึกษามา แต่เหนืออื่นใดสิ่งที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจและภูมิใจมากที่สุดก็คือการที่นักกีฬาของข้าพเจ้าเป็นที่ต้องการของผู้ควบคุมทีมในระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทีมจังหวัดสระบุรี โรงเรียนกีฬาสุพรรณบุรี จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดเพชรบุรี ปัจจุบันนี้ลูกศิษย์ของข้าพเจ้าได้เป็นนักกีฬาในโครงการยุวชนโอลิมปิกของประเทศ ซึ่งข้าพเจ้าก็หวังว่าเขาคงจะมีอนาคตที่ดีในวันข้างหน้าต่อไป

ลูกชายตัวโอ
สาเหตุที่ข้าพเจ้าตั้งชื่อภาพว่าลูกชายตัวโอเพราะว่า เขาเป็นเหมือนลูกชายของข้าพเจ้าแล้วเขาก็ชื่อโอเลี้ยง สำหรับความประทับใจกับสุนัขตัวนี้เนื่องจากว่าข้าพเจ้าเลี้ยงเขามาตั้งแต่เขาเกิดได้ 3 วัน ตั้งแต่เขายังไม่ลืมตาข้าพเจ้าได้ซื้อขวดนม ซื้อนมสำหรับสุนัขมาให้เขากิน โดยชงนมแล้วก็ป้อนเขาเหมือนกับเด็กเล็ก ๆ คนหนึ่งเวลาไปโรงเรียนก็นำเขาใส่ตะกร้าเล็ก ๆวางไว้หน้ารถจักรยานยนต์ พอกินนมเสร็จเขาก็หลับ พอเริ่มโตหน่อยบางครั้งก็เอาใส่กระเป๋าเสื้อวอร์มเวลาใส่คลุมไปโรงเรียน เวลาข้าพเจ้าซ้อมกีฬาวอลเลย์บอลเขาก็จะเข้าไปหลบตามมุมเสาของโรงยิม เวลานอนเขาก็เข้ามานอนในห้องนอนเดียวกับข้าพเจ้า ทั้ง ๆ ที่ข้าพเจ้าเองก็กลัวเหมือนกันว่าขนของสัตว์อาจทำให้เราเป็นโรคภูมิแพ้ เวลาไปไหนข้าพเจ้าก็จะพาเขาไปด้วยกันตลอด บางครั้งตอนเย็น ๆ ก็จะพาเขาไปวิ่งเล่นชายทะเล เขาชอบกินข้าวกับตับไก่และต้องมีนมจืดให้เขาด้วย ถ้าช่วงไหนที่ข้าพเจ้าต้องไปราชการต่างจังหวัดหลาย ๆ วัน ก็เอาเขาไปด้วยไม่ได้ข้าพเจ้าก็เอาเขาไปฝากให้แม่เลี้ยงทุกครั้ง เนื่องจากความผูกพันธ์ที่เลี้ยงเขามาตั้งแต่เล็ก ๆ ทำให้เวลาที่ข้าพเจ้าต้องห่างเขาไปหลาย ๆ วันก็ทำให้คิดถึงเขาเหมือนกันพอเขาเจอข้าพเจ้าก็จะวิ่งมากระโดดให้ข้าพเจ้าอุ้มเขาข้าพเจ้ารู้สึกได้ว่าเขาดีใจซึ่งข้าพเจ้าเองก็ดีใจเหมือนกัน มีคนเคยพูดว่าสุนัขเขาจะมีญาณพิเศษที่เขาจะรู้ว่าใครจริงใจหรือไม่จริงใจกับเขาข้าพเจ้าเองก็สังเกตเหมือนกันแล้วก็รู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ เพราะว่าเวลาที่คนใดก็ตามที่ไม่จริงใจเข้ามาเขาจะเห่ากรรโชกตลอดและการที่เราเลี้ยงเขาไว้ก็ทำให้เรารู้ว่ากำลังมีคนเข้ามา เวลาที่ข้าพเจ้าอยู่ในบ้านแล้วมีคนมาหาเขาจะเห่าทุกครั้ง และเวลาที่โทรศัพท์ดังเขาก็จะเห่าบอกทุกครั้ง เวลาที่เขาดื้อพอข้าพเจ้าดุเขา เขาก็จะหยุด จากวันนั้นจนถึงวันนี้เขาก็อายุ 5 ปีแล้ว ก็เขาเกิดวันที่ 15 มิถุนายน 2547 ข้าพเจ้ายอมรับว่าผูกพันกับเขามาก แล้วยิ่งสุนัขพันธุ์แบบนี้จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 10 ปีก็ยิ่งทำให้ข้าพเจ้ากลัว ว่าสักวันหนึ่งถ้าไม่มีเขาแล้วข้าพเจ้าก็คงจะเหงาเหมือนกัน จากที่เคยไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด เพราะถึงยังงัยข้าพเจ้าก็ยัง
เชื่อว่ามีหมาเป็นเพื่อนดีกว่ามีเพื่อนหมา ๆ

ประวัติ



  • ชื่อ นางสาวเมธาวี หุ่นงาม

  • ชื่อเล่น เมย์

  • วัน/เดือน/ปีเกิด 5 พฤศจิกายน 2517

  • ที่อยู่ 6/36 หมู่ 10 ถ.ดอนเหียง ต.เกาะหลัก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000

  • เบอร์โทรศัพท์ บ้าน 0-3260-3899 มิอถิอ 084-3206488

  • อาชีพ รับราชการครู

  • ตำแหน่ง ครู คศ.2

  • ที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม ถ.ประจวบศิริ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000

  • เบอร์โทรศัพท์ 0-3260-1539

  • เบอร์โทรสาร 0-3260-1539

  • สถานที่ติดต่อ 6/36 หมู่ 10 ถ. ดอนเหียง ต. เกาะหลัก อ. เมือง จ. ประจวบคีรีขันธ์ 77000