วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นวัตกรรมทางการศึกษา

บทคัดย่อ

ชื่องานวิจัย ศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบรายการลูกทุ่งครูไทย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่ง

ประเทศไทยจังหวัดภูเก็ต คลื่น F.M. 96.75 MHz
ชื่อผู้วิจัย นายยุติกร คำแก้ว
หน่วยงาน โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฎภูเก็ต
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2542

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบรายการลูกทุ่ง ครูไทยโดยจะทำการศึกษา ข้อมูลของผู้รับฟัง ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) พฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง 2) พฤติกรรมการรับฟังรายการเพลงลูกทุ่งทางวิทยุกระจายเสียง และ 3) ความสนใจ ความต้องการ เกี่ยวกับรูปแบบรายการเพลงลูกทุ่งทางวิทยุกระจายเสียง
กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้รับฟังรายการเพลงลูกทุ่ง ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบ FM ในจังหวัดภูเก็ต ที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 60 ปี จำนวน 418 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับผู้รับฟังรายการเพลงลูกทุ่ง แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1) สถานภาพส่วนตัว 2) พฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง 3) พฤติกรรมการรับฟังรายการเพลงลูกทุ่งทางวิทยุกระจาย และ 4) ความสนใจ ความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบรายการเพลงลูกทุ่งทางวิทยุกระจายเสียง หลังจากทำการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำคะแนนที่ได้มาคำนวณหาค่าเฉลี่ยและกำหนดช่วยคะแนนทางสถิติ เพื่อใช้ในการแปลผล และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติร้อยละ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Win V.8.0
ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงไปพร้อม ๆ กับการนอนหรือพักผ่อนอยู่กับบ้านหรือที่หอพัก ซึ่งจะรับฟังในเวลา 22.00 น. โดยใช้เวลาในการรับฟังประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง ของทุกวัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการรับฟังคือ เพื่อความบันเทิงและสาระความรู้ และมักจะรับฟังจากสถานีวิทยุองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยจังหวัดภูเก็ต (อสมท. คลื่น F.M. 101.50 MHz) เพราะรับฟังชัดเจนไม่มีสัญญาณรบกวน รายการที่ชอบฟังมากที่สุด คือรายการเพลงเพื่อชีวิต และส่วนใหญ่จะไม่ซื้อหรือไม่ใช้บริการจากโฆษณาในรายการวิทยุ เพราะคิดว่าฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น
2. กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะชอบฟังรายการเพลงลูกทุ่ง เพราะชอบฟังเพลงลูกทุ่งเป็นปกติอยู่แล้ว ซึ่งจะชอบฟังเพลงลูกทุ่งทั้งในสมัย เก่า กลาง และใหม่ รวมกัน โดยมีเอกชัย ศรีวิชัย และศิริพร อำไพพงษ์ เป็นนักร้องลูกทุ่งเพศชาย และเพศหญิงที่ส่วนใหญ่ชอบฟังมากที่สุด และรายการสมาร์ทเรดิโอเพลงใหม่ได้อันดับ (สอด.คลื่น F.M. 107.25 MHz) เป็นรายการเพลงลูกทุ่งที่ชอบฟังมากที่สุด เพราะรายการได้เปิดเพลงตามคำขอของผู้ฟัง สถานีวิทยุที่รับฟังรายการเพลงลูกทุ่งมากที่สุดคือ สถานีวิทยุเสียงสามยอด (FM 95.0 MHz) เพราะรับฟังได้ชัดเจนไม่มีสัญญาณอื่นรบกวน และขณะรับฟังส่วนใหญ่จะนอนหรือพักผ่อน อยู่ที่บ้านหรือหอพักโดยมีจุดประสงค์ในการรับฟังรายการเพลงลูกทุ่งคือ เพื่อความบันเทิงและสาระความรู้
3. กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ สนใจและต้องการรับฟังรายการเพลงลูกทุ่งที่มีรูปแบบดังนี้
3.1 ต้องการรับฟังผู้จัดรายการเพศชาย ที่ใช้ภาษากลางในการจัดรายการ มีลักษณะการพูดที่ตลก สนุก สนาน และควรพูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเพลงที่เปิด แต่ไม่ควรพูดแทรก หรือคร่อมเพลง
3.2 ต้องการให้รายการเปิดเพลงทั้งตามคำขอของผู้ฟัง และตามใจผู้จัดคละกันรวมทั้งต้องการรับฟังรายการเพลงลูกทุ่งในวันและเวลาใดก็ได้ แต่เวลาที่เหมาะสมคือเวลาในช่วงเย็นหรือหลังเลิกงาน
3.3 ต้องการให้รายการสอดแทรกข่าวสาร หรือเนื้อหาในรายการบ้าง ได้แก่ ข่าวท้องถิ่น ข่าวเหตุการณ์ปัจจุบันในประเทศและต่างประเทศ ข่าวเศรษฐกิจ รวมทั้งข่าวในวงการเพลงลูกทุ่ง ซึ่งควรนำเสนอให้กระชับ รัดกุม เข้าใจง่าย หรือเป็นลักษณะสปอตก็ได้ นอกจากนี้ รายการควรนำเสียงของผู้ที่อยู่ในวงการเพลงลูกทุ่งมาออกอากาศบ้าง (อาจจะเป็นแบบเทป หรือสดก็ได้)
3.4 ต้องการให้รายการมีการจัดอันดับเพลงยอดนิยมประจำสัปดาห์หรือประจำเดือน ต้องการให้มีการเล่นเกมแจกของรางวัล ต้องการให้มีการนำเสียงของผู้ฟังออกอากาศผ่านโทรศัพท์ (Phone In) บ้าง และต้องการให้รายการเปิดรับสมาชิก (Fan Club) แต่ไม่ต้องการให้นำจดหมายของผู้ฟังมาตอบในรายการ นอกจากนี้ยังต้องการให้โฆษณาในรายการมีลักษณะเป็นสปอต แต่ทั้งนี้ไม่ควรเปิดสปอตโฆษณามากเกินไป

เอกสารอ้างอิง
ยุติกร คำแก้ว.(2542).ศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบรายการลูกทุ่งครูไทย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดภูเก็ต คลื่น F.M.96.75 MHz.ภูเก็ต.
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1. ได้ทราบถึงวิธีการเขียนงานวิจัยและสามารถนำไปเป็นแนวทางในอนาคตได้
2. ได้ทราบถึงวิธีการค้นหางานวิจัย
3. สามารถนำความรู้ที่ได้จากการค้นหางานวิจัยไปใช้ได้
4. ได้ทราบถึงการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 2

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 2 (บทที่ 3-6)
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
ปัจจุบันเทคโนโลยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเพราะมีการแข่งขันกันสูง เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ ขององค์กรเช่น
1. ด้านการวางแผน เป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานขององค์กร
2 ด้านการตัดสินใจ เป็นการนำสารสนเทศไปใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อเลือกทางที่ดีที่สุด
3. ด้านการดำเนินงาน เป็นการนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงาน
นอกจากนี้ผู้บริหารขององค์กรนั้น ๆ จะต้องมีความรู้ความสามารถในการทำงานและกล้าที่จะตัดสินใจซึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพก็คือระบบสารสนเทศ

ระดับการบริหารงานในองค์กร
1. ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ประธานกรรมการ ผู้จัดการ กรรมการบริหาร ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและวางแผนระยะยาว กำหนดทิศทาง เป้าหมายกลยุทธ์ขององค์กร
2. ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ มีหน้าที่รับนโยบายและแผนระยะยาวที่ผู้บริหารระดับสูงได้วางไว้
3. ผู้บริหารระดับต้น ได้แก่ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าแผนก ทำหน้าที่ปฏิบัติตามแผนและนโยบาย ควบคุมดูแลและแก้ปัญหาการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ระดับของการตัดสินใจ
1. การตัดสินใจระดับสูง เป็นการตัดสินใจแบบไม่มีการวางแผนล่วงหน้ากับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
2. การตัดสินใจระดับกลาง เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารระดับสูง
3. การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติในแต่ละวัน

ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
1. ระบบประมวลผลรายการ(TPS) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS) เป็นระบบที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลขององค์กรเพื่อผลิตสารสนเทศตามความต้องการเพื่อใช้สนับสนุนการดำเนินงาน
3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน(OIS)เป็นระบบการจัดการสารสนเทศในสำนักงานโดยเกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูล การผลิตเอกสารภายในสำนักงานโดยนำเทคโนโลยีมาใช้
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS)เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร
5. ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง(ESS)เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง เน้นการสร้างสารสนเทศสำคัญเพื่อสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง

การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กร และเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทั้งในโครงสร้างการปฏิบัติงาน และการจัดการขององค์กรต่าง ๆ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาองค์กรสามารถทำได้หลายระดับและหลายรูปแบบ ทั้งการปรับปรุงกระบวนการทำงานและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กรแต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของปัจจัยภายในองค์กรหลายด้าน เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล ระบบเครือข่ายการสื่อสารและบุคลากรที่ทำงาน ดั้งนั้นผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้ความสนใจ และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเพื่อจะได้ทราบทิศทาง และประโยชน์ในการประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสมกับองค์กรและจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดเทคโนโลยสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
การเลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน คือ
1. ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2. มีการสร้างเสริมคุณภาพที่ดีขึ้น มีการติดต่อสื่อสารที่สะดวก
3. อุปกรณ์มีราคาถูกลงแต่มีความสามารเพิ่มขึ้น
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทที่สำคัญกับระบบธุรกิจเกิดเป็นสังคมโลกแบบไร้พรมแดน

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคมในแง่บวก

1. เทคโนโลยีช่วยให้การดำรงชีวิตของมนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น
2. ช่วยพัฒนาระบบการทำงานที่สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และประหยัดค่าใช้จ่าย
3. สามารถทำงานร่วมกันได้ในทุกที่ ทุกเวลา
4. นำเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่และด้านการแพทย์ให้ดีขึ้น
5. ช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคมในแง่ลบ
1. ทำให้เกิดความขัดแย้งทางแนวความคิดระหว่างแนวความคิดใหม่กับแนวความคิดเก่า
2. มีการก่ออาชญากรรมทางด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น
3. อัตราการจ้างงานลดลงเพราะมีการใช้เทคโนโลยีมาแทนแรงงานคน

เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน คือ
1. เพิ่มปริมาณการขาย
2. ลดต้นทุนการผลิต
3. ช่วยในการเพิ่มผลผลิต
4. ช่วยเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ
5. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเทคโนโลยสารสนเทศในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
1. การสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศเสียค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้เวลา
2. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง
3. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเสี่ยง

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อองค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศส่วนตัวบางอย่างที่ไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลได้ถูกละเมิดโดยเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในทางที่ผิดหรือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาควบคุมทำงานของเครื่องจักรแทนแรงงานคนทำให้เกิดปัญหาสังคม เช่น เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้น
ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลียนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น